- หน้าแรก
- ข้อมูลเทศบาล
- ยุทธศาสตร์/แผนงาน
- ข่าว/กิจกรรม
- เอกสาร/รายงาน
- ติดต่อเรา
ลักษณะที่ตั้ง/อาณาเขต
ทศบาลตำบลลาดยาว มีพื้นที่ประมาณ 2.18 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 1,362.5 ไร่ โดยพื้นที่ ขององค์การบริหารส่วนตำบลลาดยาวโอบล้อมและหลักเขตระบุไว้ชัดเจน
จำนวนประชากร
จำนวนประชากรในเขตเทศบาลตำบลลาดยาวตามทะเบียนราษฎร ปี พ.ศ.2556-2562
พ.ศ. | ชาย | หญิง | รวม | จำนวนครัวเรื่อน | ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง |
2556 | 3,223 | 3,566 | 6,789 | 3,253 | 5,303 |
2557 | 3,217 | 3,567 | 6,784 | 3,311 | 5,563 |
2558 | 3,172 | 3,495 | 6,667 | 3,340 | 5,563 |
2559 | 3,138 | 3,456 | 6,594 | 3,368 | - |
2560 | 2,123 | 3,421 | 6,544 | 3,423 | - |
2561 | 3,136 | 3,435 | 6,571 | 3,446 | - |
2562 | 3,133 | 3,437 | 6,570 | 3,448 | - |
2563 | 2,843 | 3,206 | 6,049 | 3,478 | - |
ในอดีตชุมชนเมืองลาดยาว เป็นตำบลหนึ่งของอำเภอโกรกพระ ซึ่งสภาพแวดล้อมทั่วไปเป็น ป่าทึบ มีความอุดมสมบูรณ์ ทั้งทางด้านกายภาพและชีวภาพ ปี พ.ศ.2456 ขุนลาดบริบาล (หลง หมู่พยัคฆ์) กำนันตำบลลาดยาว ได้เป็นผู้บุกเบิกและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ ของตำบลลาดยาวให้เจริญยิ่งขึ้น จึงได้เสนอยกฐานะตำบลลาดยาวเป็นอำเภอลาดยาว ต่อพลโทพระยาเทพหัสดินทร์ สมุหเทศาภิบาล ผู้สำเร็จราชการมณฑลนครสวรรค์ และพระยาสุนทรพิพิธ ข้าหลวงนครสวรรค์ในสมัยนั้น และในปี พ.ศ.2468 พระยามหินทราเดชานุวัฒน์ ได้ดำรงตำแหน่ง สมุหเทศาภิบาล ผู้สำเร็จราชการมณฑลนครสวรรค์ จึงอนุมัติให้ตำบลลาดยาว เป็นอำเภอลาดยาว ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
จนถึง พ.ศ. 2499 ได้มีการประกาศจัดตั้งสุขาภิบาลลาดยาวขึ้นโดยความเห็นชอบของราษฎร และเป็นไปตามหลักเกณฑ์การจัดตั้งสุขาภิบาลตามประกาศกระทรวงมหาดไทย ลงในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 73 ตอนที่ 60 ฉบับพิเศษ หน้า 80 ลงวันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ.2499 โดยมีนายถนอม กิจรุ่งเรือง นายอำเภอลาดยาว เป็นประธานกรรมการสุขาภิบาล ต่อมาใน พ.ศ.2542 ซึ่งมีนายชวน หลีกภัย เป็นนายกรัฐมนตรี ได้มีการออกพระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะสุขาภิบาลเป็นเทศบาล มีผลให้สุขาภิบาลลาดยาว เปลี่ยนเป็นเทศบาลตำบลลาดยาว ตั้งแต่วันที่ 25 พฤษภาคม 2542 เป็นต้นมา
ที่มาของคำว่า “ ลาดยาว ” นั้นได้มีผู้สันนิษฐานไว้ต่างๆ กันไป บางคนก็เรียกว่าตามลักษณะภูมิประเทศที่มีลักษณะเป็นที่ราบกว้างและลาดเอียงจากเชิงเขาด้านทิศตะวันตกลงสู่ทิศตะวันออก บางคนว่าเรียกตามลักษณะทางน้ำไหล เพราะเมื่อก่อนพื้นที่บริเวณนี้ยังไม่มีลำน้ำเป็นขอบคันแน่นอน ครั้นพอถึงฤดูฝนน้ำจะไหลลาดเป็นทางยาว จึงเรียกกันว่า “ ลาดยาว ” เป็นต้น